วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


8.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก

สิทธิมนุษยชน


7. สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค

กฏหมาย


6. กฏหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาริมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมืองกฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใดๆ

ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน ค.ศ. 1894 ว่า "ในความเสมอภาคอันสูงส่งของมัน กฎหมายห้ามมิให้ทั้งคนรวยและจนนอนใต้สะพาน ขอทานบนท้องถนนและขโมยแถวขนมปังอย่างเดียวกัน" ในประชาธิปไตยตามแบบ สถาบันกลางสำหรับการตีความและบัญญัติกฎหมาย คือ สามฝ่ายหลักของรัฐบาล ได้แก่ ฝ่ายตุลาการอันไม่ลำเอียง ฝ่ายนิติบัญญัติอันเป็นประชาธิปไตย และฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการนำกฎหมายไปปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนให้บริการแก่สาธารณชน ระบบราชการหรือรัฐการของรัฐบาล คือ ทหารและตำรวจนั้นสำคัญ แม้องค์กรของรัฐทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกฎหมายและถูกผูกพันด้วยกฎหมาย แต่วิชาชีพทางกฎหมายอิสระและประชาสังคมก็แจ้งและสนับสนุนความก้าวหน้าขององค์กรเหล่านี้

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


5. การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ
1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ
3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

พลเมืองดี

สาระสำคัญ
1.การอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี โดยเริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีต่อครอบครัวและโรงเรียนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในอนาคตต่อไป
2.คนทุกคนมีความสามารถในแต่ละด้านแตกต่างกันไป การใช้ความสามารถในด้านที่ตนมีอยู่เพื่อกระทำความดี จะส่งผลให้ตนเองเป็นผู้มีจิตใจที่ดี เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

1.สมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน
1.1 การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
เด็กดีของครอบครัว หมายถึง เด็กที่ปฏิบัติตนให้เป็นที่รักใคร่ของบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นต้น

วัฒนธรรม





3.วัฒนธรรม


ความหมายของวัฒนธรรม

วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา กฎหมาย ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม



2.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น
พัทยา สายหู (2529 : 206-207) ได้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากระเบียบที่กำหนดการกระทำ และความสัมพันธ์ของคน เช่น สิทธิและหน้าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทและสถานภาพ มีการเปลี่ยนแปลง
สนิท สมัครการ (2538 : 4) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตเพียงไรก็ตามย่อมถือได้ว่าเป็นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทั้งสิ้น
เดวิด จารี และจูเลีย จารี (Jary and Jary 1995 : 602)หมายถึง ความแตกต่างในส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของสังคมหรือการจัดระเบียบของสังคมระหว่างปัจจุบันกับอดีต

โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) หมายถึง ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียก็ได้